กรุณารอสักครู่ ระบบกำลังทำการโยกเงินให้ท่าน

เพิ่มไปยังหน้า Home
เข้าเว็บสะดวกง่ายและรวดเร็ว

ประวัติมวยไทยในสมัยโบราณ

หมวดหมู่: หมวดหมู่ 1

ประวัติมวยไทยในสมัยโบราณ

มวยไทย ตามประวัติศาสตร์แล้ว เดิมเป็นศิลปะการต่อสู้ที่มีการใช้จริงในสงคราม โดยมีการใช้ทั้งร่างกายเป็นอาวุธ หรือที่เรียกกันว่า นวอาวุธ ซึ่งเน้นไปที่อวัยวะทั้งแปด คือ สองมือ สองศอก สองเข่า สองเท้า และบางครั้งยังสามารถใช้ศีรษะ เพื่อโจมตีได้อีกด้วย โดยผู้ที่ฝึกปรือจนชำนาญนั้น เรียกได้ว่าสามารถใช้อวัยวะทุกส่วนบนร่างกายมาเป็นอาวุธได้ทั้งหมดเลยนั่นเอง

มวยไทยเป็นการพัฒนาต่อยอดมาจากมวยโบราณ โดยมีด้วยกันอยู่หลายสาย แต่สายของมวยไทยที่สำคัญหลักๆ คือ มวยท่าเสา (ภาคเหนือ) มวยโคราช (ภาคอีสาน) มวยไชยา (ภาคใต้) มวยลพบุรี และมวยพระนคร (ภาคกลาง) จนได้มีคำกล่าวเอาไว้ว่า “หมัดหนักโคราช ฉลาดลพบุรี ท่าดีไชยา ไวกว่าท่าเสา” นั่นเอง

ย้อนกลับไปในสมัยโบราณตั้งแต่ยุคสุโขทัยหรืออาจจะก่อนหน้านั้น การที่จะหาวิชาความรู้ในศาสตร์ของมวยได้แบบจริงจัง จะต้องได้รับการฝึกจากสำนักเรียน โดยจะแยกเป็นสำนักหลวง และสำนักราษฎร์ บางครั้งจะทำการฝึกเรียนร่วมกันกับการเรียนดาบ กระบี่ กระบอง พลอง ทวน ง้าว หรือศิลปะการต่อสู้แขนงอื่นๆ ร่วมด้วย โดยจุดมุ่งหมายในการเรียนก็เพื่อใช้ในการออกศึกทำสงครามที่มักจะเกิดขึ้นบ่อยในยุคสมัยนั้น จึงมีทั้งชนชั้นกษัตริย์ ขุนนาง แม่ทัพ เจ้านาย ตลอดจนชาวบ้านทั่วไป ที่จะสามารถเข้ารับการฝึกได้ แล้วแต่เงื่อนไขการรับเข้าของแต่ละสำนักเรียน

นอกจากจะเรียนเพื่อต่อสู้จริงในศึกสงครามแล้ว ยังมีการแข่งขันต่อสู้ ประลองความสามารถกันในงานเทศกาลต่างๆ จากทั้งสำนักเรียนและค่ายมวยหรือไร้สังกัดที่เข้าร่วมเพื่อชิงเงินรางวัล หรือเพื่อวางเดิมพัน โดยเมื่ออยู่ในสนามทุกคนจะได้รับความเสมอภาค และต่อสู้กันอย่างเท่าเทียมทุกคน

มวยไทยในสมัยรัตนโกสินทร์

สำหรับประวัติของมวยไทยในสมัยรัตนโกสินทร์ มวยไทยถือว่าได้รับความนิยมอย่างมาก โดยเฉพาะในสมัยรัชกาลที่ 5 พระองค์ได้ศึกษาฝึกฝนการชกมวยไทยด้วยพระองค์เอง และโปรดให้มีการจัดการแข่งขันชกมวยไทยหน้าพระที่นั่งอยู่บ่อยครั้ง โดยผู้ชนะจะได้รับพระราชทานแต่งตั้งบรรดาศักดิ์และรางวัลอื่นๆ อีกมากมาย จนถึงในสมัยของรัชกาลที่ 7 ได้เริ่มมีการใช้ผ้าพันมือด้วยเชือกในการแข่งขัน จนกระทั่งเกิดเหตุที่ นายแพ เลี้ยงประเสริฐ นักมวยจากท่าเสา จังหวัดอุตรดิตถ์ ทำการแข่งขันขึ้นชกกับ นายเจียร์ นักมวยจากเขมรในสมัยนั้น โดยใช้หมัดเหวี่ยงควายต่อยนายเจียร์จนถึงแก่ความตาย จึงได้มีการเปลี่ยนกติกามาสวมนวมแทน ตลอดจนมีการพัฒนากติกาการชกมวยเพื่อให้เกิดความปลอดภัยและได้มาตรฐานยิ่งขึ้น โดยเวทีมวยมาตรฐานแห่งแรกของประเทศไทยคือ เวทีมวยลุมพินี และเวทีมวยราชดำเนิน ซึ่งมีการจัดการแข่งขันมาจนถึงปัจจุบัน

กฎกติกาการแข่งขันมวยไทยในปัจจุบัน

มวยไทยได้มีการพัฒนากฎกติกาให้รัดกุม เพื่อความปลอดภัยและเพื่อความยุติธรรมมากขึ้นจนถึงปัจจุบัน โดยได้มีการกำหนดกฎต่างๆ ไว้อย่างชัดเจนครอบคลุมในทุกเรื่อง ดังนี้

1.ผู้เข้าแข่งขันต้องสวมนวมขนาด 4 ออนซ์ แต่งกายด้วยชุดแบบนักกีฬามวย คือ สวมกางเกงขาสั้น กระจับ ปลอกรัดเท้า (อาจมีหรือไม่มีก็ได้) หากมีเครื่องรางของขลังต้องผูกไว้ที่แขนท่อนบน ส่วนเครื่องรางอื่นๆ ให้ใส่ได้เฉพาะตอนช่วงที่ทำการรำไหว้ครู แล้วให้ถอดออกก่อนเริ่มการแข่งขั้น

2.มีกรรมการเป็นผู้ตัดสินชี้ขาดบนเวที 1 คน กรรมการผู้ให้คะแนนประจำอยู่ข้างเวที 2 คน

3.มีจำนวนยกแข่งขันทั้งหมด 5 ยก โดยแบ่งเป็นยกละ 3 นาที พัก 2 นาทีระหว่างยก

4.ผู้เข้าแข่งขั้นจะต้องถูกแบ่งตามรุ่น โดยยึดเอาจากน้ำหนักตัว เช่นเดียวกันกับหลักเกณฑ์ของมวยสากล

5.อวัยวะที่อนุญาตให้สามารถใช้ในการแข่งขันได้คือ หมัด เท้า เข่า และศอก เป็นต้น ไม่จำกัดตำแหน่งที่ชก สามารถถือเป็นเป้าหมายได้ทุกจุด แต่มีท่ามวยไทยบ้างท่าที่มีความอันตรายสูง จะถูกห้ามใช้โดยเด็ดขาด เช่น ท่าหลักเพชร ที่จะใช้การจับขาแล้วหักด้วยการนั่งทับ เป็นต้น

ประวัติมวยไทย มีความเป็นมาอย่างยาวนานตั้งแต่อดีตที่ใช้เพียงเพื่อต่อสู้ยามศึกสงคราม จนมาสู่กีฬาที่ได้รับการยอมรับในระดับสากลเช่นในปัจจุบัน ถือเป็นกีฬาที่นิยมอย่างแพร่หลาย และมีการจัดการแข่งขันขึ้นในหลายรายการ หลายเวทีมวย ซึ่งเป็นที่น่าสนใจและเป็นอีกหนึ่งกีฬาที่คอเดิมพันไม่ควรพลาดในการเล่นเดิมพันด้วยเช่นเดียวกัน

แท็ก:
บริการตลอด
support 24 hours24 ชม.
support 24 hours
support 24 hours

ขั้นตอนการติดตั้ง

เมื่อเปิด Safari แล้ว > กด > เลือกเมนู Add to Home Screen